จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดขอนแก่น

รับจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด

ลักษณะของบริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
อาจสรุปได้ว่า พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้

  1. จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
  2. ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
  3. มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
  4. จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด อาจดำเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  1. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เริ่มโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไปดำเนินการ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วดำเนินการจัดทำหนังสือชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น หรือเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งได้จองซื้อหุ้นทั้งหมดครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็จะเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท หลังจากนั้นผู้เริ่มจัดตั้งจะต้องส่งมอบกิจการและเอกสารทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อนำความไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไป
    ดูคำแนะนำขั้นตอนการจดทะเบียนตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
  2. การแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทเอกชนอาจแปรสภาพเป็น บริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    ดูคำแนะนำขั้นตอนการแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
“ให้เราเป็นตัวช่วยเสริมความมั่นคงของทุกธุรกิจ”

รับจดทะเบียนบริษัท ราคา 9,500 บาท


ราคารวม VAT 7% ค่าบริการและค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว

รับจดทะเบียนบริษัท ราคาพิเศษ 9,500 บาท *** (ราคารวม VAT7%) ไม่มีจ่ายเพิ่ม
หมายเหตุ
*** ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
หากทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท ติดต่อพนักงานเพื่อสอบถามรายละเอียด
*********************

สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้ 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 1 อัน
ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)
ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองบริษัท
รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท

*** สิทธิพิเศษมากมาย โปรดติดต่อ Line@ : @chonlatee เพื่อรับข้อเสนอ
หรือสอบถาม โทร : 083-622-5555

รับจดทะเบียนบริษัท 9,500 บาท
จดทะเบียนบริษัท

การควบบริษัท


บริษัทมหาชนจำกัดตั้งแต่บริษัทสองบริษัทขึ้นไป หรือบริษัทมหาชนจำกัดกับบริษัทเอกชน จะควบกันเป็นบริษัทมหาชนจำกัดก็ได้ โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทที่จะควบเข้ากันลงมติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยในกรณีที่เป็นการควบกับบริษัทเอกชนที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเอกชนนั้น จะต้องมีมติพิเศษให้ควบกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ขั้นตอนการจดทะเบียนควบบริษัทมหาชนกับบริษัทเอกชน


สถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียน

การยื่นขอจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของ บริษัทตั้งอยู่
  3. ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด


การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตามประเภทการจดทะเบียนต่างๆ ดังนี้

  1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่จดทะเบียนไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  2. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ
    เพื่อเพิ่มทุนก่อนจดทะเบียนเป็นบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  3. การจดทะเบียนบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
  4. การจดทะเบียนแปรสภาพบริษัทเอกชน
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  5. การจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
    แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น
    1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
  6. การจดทะเบียนลดทุนบริษัท 500 บาท
  7. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท นอกจากกรณีเพิ่มทุนตาม 2. 500 บาท
  8. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท 500 บาท
  9. การจดทะเบียนตั้งกรรมการใหม่ คนละ 500 บาท
  10. การจดทะเบียนควบบริษัท 10,000 บาท
  11. การจดทะเบียนเลิกบริษัท 500 บาท
  12. การจดทะเบียนเรื่องอื่นๆเรื่องละ 500 บาท
  13. การออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 200 บาท
  14. การขอสำเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคำรับรอง หน้าละ 50 บาท ถ้าเป็นการขอสำเนาหรือ ขอถ่ายเอกสาร พร้อมทั้งคำรับรองของบริษัทนอกเขตจังหวัดอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้น ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
  15. การรับรองข้อความในใบทะเบียน เรื่องละ 40 บาท

หน้าที่ของบริษัทมหาชนจำกัด


  1. บริษัทต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น วันประชุมสามัญประจำปีต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุม
  2. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปี สำเนางบการเงิน สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับ อนุมัติงบการเงิน การจัดสรรกำไร และการแบ่งเงินปันผลไปยังนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินนั้นและต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 วัน
  3. บริษัทต้องจัดทำป้ายชื่อไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา
  4. บริษัทต้องแสดงชื่อ ที่ตั้งสำนักงาน และเลขทะเบียนไว้ในจดหมายประกาศใบแจ้งความ ใบส่งของและใบเสร็จรับเงิน
  5. บริษัทต้องจัดทำใบหุ้นมอบแก่ผู้ถือหุ้นภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็น บริษัทมหาชนจำกัด หรือนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าหุ้นครบและได้จดทะเบียนเพิ่มทุนแล้ว
  6. บริษัทต้องจัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น ทะเบียนกรรมการ รายงาน การประชุมคณะกรรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เก็บไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่หรือเก็บไว้ที่บุคคลอื่นที่ได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบแล้ว
  7. บริษัทต้องจัดทำและเก็บรักษา บัญชี งบดุล บัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบ และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  8. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปีของคณะกรรมการ งบดุล บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบแล้ว ให้ผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี
  9. บริษัทต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับเอกสารดังต่อไปนี้
    1. หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
    2. หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
    3. การจ่ายเงินปันผล
    4. งบดุลที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ
    5. การเพิ่มทุนและลดทุน ภายหลังได้รับจดทะเบียนแล้ว
ติดต่อจดทะเบียนบริษัท

เราให้มากกว่าแค่ จดทะเบียนบริษัท


ด้วยความชำนาญ และประสบการณ์ ในงานด้านจดทะเบียนธุรกิจ กว่า 10 ปี มีลูกค้าไว้ใจให้เราดำเนินการจดทะเบียนบริษัท กว่า 1,000 ราย/ปี  ลูกค้าที่จดทะเบียนบริษัทกับเรา จะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเราจะพยายามรักษาสิทธิ์ต่างๆ ที่ลูกค้าพึงได้รับ เมื่อดำเนินการจดทะเบียน เพราะเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจในระยะยาวให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน ซึ่งคำแนะนำของเราล้วนเป็นเป็นประโยชน์ และช่วยเรื่องความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ

  • การจัดสรรผู้ถือหุ้นในบริษัท
  • อำนาจของกรรมการ
  • วัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมธุรกิจในระยะยาว
  • การตลาดและสื่อประชาสัมพันธ์
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่เราให้คำแนะนำลูกค้าของเรา
สอบถามรายละเอียดหรือปรึกษาก่อนจดทะเบียนบริษัท
Line@ : @chonlatee (คลิ๊กเพื่อคุยไลน์)
Tel : 083-622-5555 (คลิ๊กเพื่อโทร)
รับจดทะเบียนบริษัท

ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจังหวัดศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เมืองขอนแก่นตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางเข้าไปสู่ภาคเหนือตอนล่างที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทางด้านทิศใต้ของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์

  • คำขวัญประจำจังหวัด : พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก
  • ตราประจำจังหวัด : รูปพระธาตุตั้งอยู่บนตอมะขาม ขนาบสองข้างด้วยต้นไม้
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นกัลปพฤกษ์ (Cassia bakeriana)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกราชพฤกษ์หรือดอกคูน (Cassia fistula)
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาพรมหรือปลาตาแดง (Osteochilus melanopleurus)
  • วิสัยทัศน์จังหวัด : ขอนแก่นเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่มหานครแห่งอาเซียน
  • ลักษณะรูปร่างของจังหวัด : ลักษณะรูปร่างของจังหวัดขอนแก่นมีรูปร่างคล้ายกับไม้ตะขอที่ใช้คล้องช้าง

ประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐาน 
แม้ขอนแก่นจะเป็นบ้านเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้ก็ตาม แต่ในอดีตกาลยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบริเวณเขตจังหวัดขอนแก่นเคยมีชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ได้เข้ามาอาศัยก่อนแล้ว เช่น การค้นพบแหล่งโบราณคดีที่บ้านโนนนกทา อำเภอภูเวียง พบว่ามีเครี่องปั้นดินเผาที่มีอายุยาวนาน ต่อมาชุมชนเหล่านี้กลายเป็นเมืองขึ้นในสมัยทวารวดี ก่อนที่ขอมจะมามีอำนาจในดินแดนส่วนนี้ เช่น พบแหล่งโบราณคดีที่วัดศรีเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง ซึ่งปรากฏจารึกศรีเมืองแอมที่ขอมได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนส่วนนี้หรือที่ปรากฏเป็นปรางค์กู่ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ พื้นที่ส่วนนี้ยังเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายกันตามพื้นที่ราบสูง ในปี พ.ศ. 2322 ขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์ได้เกิดเหตุพิพาทกับกลุ่มของเจ้าพระวอจนถึงกับยกทัพไปตีค่ายของเจ้าพระวอแตกที่บ้านดอนมดแดง (อุบลราชธานีปัจจุบัน) และจับเจ้าพระวอประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถือว่าฝ่ายเจ้าพระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปตีเวียงจันทน์ จากนั้นจึงได้ยกทัพกลับมายังกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธปฏิมากร และพระบางกลับมาถวายแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย

เจ้าแก้วบุฮม (แก้วบรม) กับพระยาเมืองแพน (หรือเพี้ยเมืองแพน) สองพี่น้อง ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าแสนปัจจุทุม (ท้าวแสนแก้วบุฮม) ได้ยกกองทัพจากบ้านเพี้ยปู่ เขตแขวงเมืองทุละคม (ธุระคม) ซึ่งขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์ในทุกวันนี้ ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่บ้านโพธิ์ตาก (บ้านโพธิ์ตาก ตำบลบ้านกง อำเภอเมืองขอนแก่น) และบ้านยางเดี่ยว บ้านโพธิ์ศรี (บ้านโพธิ์ศรี ตำบลบ้านโนน อำเภอกระนวน) บ้านโพธิ์ชัย (บ้านโพธิ์ชัย อำเภอมัญจาคีรี) เมืองมัญจาคีรีหรืออำเภอมัญจาคีรี ปรากฏอยู่ในทำเนียบมณฑลอุดร กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นชื่อเมืองมัญจาคีรี โดยมีจางวางเอกพระยาพฤติคุณธนเชษ (สน สนธิสัมพันธ์) เป็นเจ้าเมืองคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2433-2439 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระเกษตรวัฒนา (โส สนธิสัมพันธ์) เมื่อ พ.ศ. 2439-2443 และมีปรากฏประวัติเมืองมัญจาคีรีในหนังสือประวัติจังหวัดในประเทศไทย ในห้องสมุดของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) บ้านสร้าง บ้านชีโหล่น (อยู่ในเขตเมืองสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน)

ในปัจจุบัน บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอน้ำพอง บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภออาจสามารถ (จังหวัดร้อยเอ็ด) บางบ้านก็อยู่ในเขตจังหวัดยโสธร บางบ้านก็อยู่ที่อำเภอมัญจาคีรี และบางบ้านก็อยู่ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว (จังหวัดยโสธร) เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเมืองในสมัยหลัง ๆ ต่อมานั่นเอง

เจ้าแก้วบุฮมได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโพธิ์ชัย พระยาเมืองแพนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบ้านชีโหล่น คุมไพร่พลคนละ 500 คน ขึ้นกับเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิ ครั้นต่อมาอีกราว 9 ปี ในปี พ.ศ. 2331 เพี้ยเมืองแพนก็ได้พาราษฎรและไพร่พลประมาณ 330 คน ขอแยกตัวออกจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งบึงบอน ยกขึ้นเป็นเมืองที่บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ย (ปัจจุบันคือ บ้านเมืองเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่)

บึงบอนหรือดอนพยอมในปัจจุบันได้ตื้นเขินเป็นที่นาไปหมดแล้ว แต่ก็ยังปรากฏเป็นรูปของบึงซึ่งมีต้นบอนขึ้นอยู่มากมาย ต่อมาก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่น ดังปรากฏข้อความในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรว่า

เอกสารพงศาวดารอีสานฉบับพระยาขัติยวงศา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) ได้กล่าวถึงการตั้งเมืองขอนแก่นว่า

….ได้ทราบข่าวว่าเมืองแพน บ้านชีโล่น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ พาราษฎร ไพร่พลประมาณ 330 คน แยกจากเมืองสุวรรณภูมิไปขอตั้งฝั่งบึงบอนเป็นเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น…” ขอนแก่นจึงได้ที่มาว่าเป็นเมืองคู่กับมหาสารคามนั้นเอง

การย้ายถิ่นฐานเมืองขอนแก่น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2339 ได้มีการย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งอยู่ที่บ้านหนองเหล็ก (ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบัน) โดยได้ขอขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร คือจะขอส่งส่วยต่อกรุงเทพมหานครโดยตรง ไม่ผ่านเมืองสุวรรณภูมิ เพราะให้เหตุผลว่า บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ยอยู่ใกล้กับแขวงเมืองนครราชสีมา ซึ่งก็เป็นจริง เพราะอยู่ใกล้กับเมืองชนบทอันเป็นแขวงเมืองนครราชสีมาอยู่ขณะนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เข้าใจว่าเจ้าเมืองในขณะนั้นอยากจะแยกตัวออกเป็นอิสระ คืออยากจะแยกออกมาเป็นเมืองใหญ่อีกต่างหาก การย้ายเมืองครั้งนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวคำบัง (บุตรเจ้าแก้วบุฮม) เป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นต่อมา

ในปี พ.ศ. 2352 ได้ย้ายเมืองจากบ้านหนองเหล็กไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านดอนพันชาด (เขตตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) พระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้ง) ได้ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตร (ท้าวคำยวง) น้องชายของพระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้ง) ซึ่งมีความดีความชอบจากการไปราชการสงคราม ขับไล่กองทัพพม่าออกไปจากเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น เป็นที่ “พระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดี ศรีศุภสุนทร” เจ้าเมืองขอนแก่น

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2381 เมืองขอนแก่นก็ได้ย้ายจากบ้านดอนพันชาดไปตั้งอยู่ที่ริมฝั่งบึงพระลับโนนทอง คือบ้านเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่า “บ้านโนนทอง” ต่อมาเมื่อย้ายเมืองไปอยู่ที่นั่น จึงเรียกว่าบ้านเมืองเก่า สาเหตุที่ย้ายเมืองนั้นเล่ากันว่า เกิดการแย่งราษฎรไพร่พลขึ้น และเกิดแผ่นดินแยกที่ถนนกลางเมือง มีโรคภัยไข้เจ็บผู้คนล้มป่วยกันมาก จึงถือว่าที่ตรงนั้นไม่เป็นมงคลต่อการอยู่อาศัย จึงย้ายเมืองอีกครั้งหนึ่ง จากบึงพระลับโนนทองไปตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกที่บ้านโนนทัน (อยู่ในตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่นปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2398 พอดีพระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) ได้ถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอินธิวงษ์ บุตรคนเล็กของพระยานครศรีบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น เพราะมีวิชาความรู้ดีกว่าพี่ชายคนอื่น ๆ โดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาในราชทินนามเดิมของบิดาสืบมา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2407 ท้าวอินธิวงษ์เจ้าเมืองขอนแก่นได้ถึงแก่อนิจกรรมลงอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวคำบุ่ง (พี่ชายท้าวอินธิวงษ์) ผู้เป็นอุปฮาดแต่เดิมให้เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นสืบแทนน้องชายต่อมาอีก 3 ปี เพราะชราภาพมากแล้ว

ในปี พ.ศ. 2410 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอุ (ราชบุตร) ซึ่งเป็นหลานท้าวอินธิวงษ์ (พระยานครศรีบริรักษ์) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองขอนแก่น และได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านโนนทันกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่าอีก (บ้านโนนทองเดิม) พอถึงปี พ.ศ. 2413 ก็ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านเมืองเก่าไปตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม (บ้านดอนบม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น) แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานบรรดาศักดิ์ท้าวอุ (ราชบุตร) เจ้าเมืองขอนแก่นในขณะนั้น เป็นพระนครศรีบริรักษ์ และให้ท้าวหนูหล้า บุตรคนเล็กของท้าวอินธิวงษ์ เป็นปลัดเมืองขอนแก่น (หรืออุปฮาด)

ในปี พ.ศ. 2439 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนการปกครองหัวเมืองไกลใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ให้เป็นหัวเมืองลาวพวน ดังนั้น เมืองขอนแก่นจึงอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองอุดรธานี หรือมณฑลอุดรธานี โดยมีกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นผู้ปกครองมณฑล ในสมัยนั้นได้มีสายโทรเลข ที่เดินจากเมืองนครราชสีมา ผ่านเมืองชนบท เข้าเขตเมืองขอนแก่นข้ามลำน้ำชีที่ท่าหมากทัน ตรงไปท่าพระ บ้านทุ่ม โดยไม่เข้าเมืองขอนแก่น และตรงไปข้ามลำน้ำพองไปบ้านหมากแข้งเมืองอุดรธานี ศูนย์กลางมณฑลอุดร กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (ผู้ปกครองมณฑลอุดรธานีในขณะนั้น) ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลอุดรธานีทรงดำริว่า ที่ว่าการเมืองขอนแก่นที่ตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม ไม่สะดวกแก่ราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งอยู่ที่บ้านทุ่ม (อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน) ในปลาย พ.ศ. 2439 และเปลี่ยนนามตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง และตั้งชื่อเมืองว่า “ขอนแก่น” จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานบรรดาศักดิ์ท้าวหนูหล้าปลัดเมืองขอนแก่นเป็นพระพิทักษ์สารนิคม และในปี พ.ศ. 2441 ก็ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านทุ่มกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่าตามเดิม โดยตั้งศาลากลางขึ้นที่ริมบึงเมืองเก่าทางด้านเหนือ (หน้าสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบัน) ด้วยเหตุผลที่ว่า บ้านทุ่มนั้นกันดารน้ำในฤดูแล้ง

ในปี พ.ศ. 2444 ทางราชการได้เกณฑ์แรงงานของราษฎรที่เคยหลงผิดไปเชื่อผีบุญ-ผีบาป ที่เขตแขวงเมืองอุบลราชธานีในตอนนั้น โดยให้พากันมาช่วยสร้างทำนบกั้นน้ำขึ้นเป็นถนนรอบบึงเมืองเก่า เพื่อกักน้ำไว้ใช้สอยในฤดูแล้ง เพราะบึงนี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวเมืองขอนแก่น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 พระนครบริรักษ์ (อุ นครศรี) เจ้าเมืองขอนแก่น ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เหตุเพราะชราภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งพระพิทักษ์สารนิคม (หนูหล้า สุนทรพิทักษ์) ปลัดเมืองขอนแก่นขึ้นเป็นเจ้าเมืองขอนแก่น และในปีนั้นเอง ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองขอนแก่นเป็นข้าหลวงประจำบริเวณพาชี ส่วนเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นต่อนั้น ก็ให้เปลี่ยนเป็นอำเภอ และผู้เป็นเจ้าเมืองนั้น ๆ ก็ให้เปลี่ยนเป็นนายอำเภอ ตำแหน่งอุปฮาดก็เป็นปลัดอำเภอไป แต่ขึ้นตรงต่อเมืองอุดรธานี มณฑลอุดรธานีในขณะนั้น

ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกเลิกระบบมณฑลในประเทศ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดแทน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจึงกลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และศาลาว่าการเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นศาลากลางจังหวัด นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาขอนแก่นจึงได้กำเนิดเป็น “จังหวัดขอนแก่น”

ที่มาของชื่อขอนแก่น
เหตุที่เมืองนี้มีนามว่า เมืองขอนแก่นนั้นได้มีตำนานแต่โบราณเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ก่อนที่เพี้ยเมืองแพนจะอพยพไพร่พลมาตั้งบ้านตั้งเมืองขึ้นนั้น ปรากฏว่าบ้านขาม หรือตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพองปัจจุบัน ซึ่งเป็นเขตแขวงร่วมการปกครองกับบ้านชีโล้น มีตอมะขามขนาดใหญ่ที่ตายไปหลายปีแล้ว กลับมีใบงอกงามเกิดขึ้นใหม่อีก และหากผู้ใดไปกระทำมิดีมิร้ายหรือดูถูกดูหมิ่น ไม่ให้ความเคารพยำเกรง ก็จะมีอันเป็นไปในทันทีทันใด เป็นที่น่าประหลาดและมหัศจรรย์ยิ่งนัก

ดังนั้น บรรดาชาวบ้านชาวเมืองในแถบถิ่นนั้นจึงได้พร้อมใจกันก่อเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นเอาไว้เสีย เพื่อให้เป็นที่สักการะของคนทั่วไป พร้อมกับได้บรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า 9 บทเข้าไว้ในเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นด้วย ซึ่งเรียกว่า พระเจ้า 9 พระองค์ แต่เจดีย์ที่สร้างในครั้งแรกเป็นรูปปรางค์ หลังจากได้ทำการบูรณะใหม่เมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมานี้ จึงได้เปลี่ยนเป็นรูปทรงเจดีย์ และมีนามว่า พระธาตุขามแก่น ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตวัดเจติยภูมิ บ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พระเจดีย์ขามแก่นถือว่าเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะมีงานพิธีบวงสรวง เคารพสักการะกันในวันเพ็ญเดือน 6 ทุกปี

ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์พระธาตุขามแก่นนั้น มีซากโบราณที่ปรักหักพังปรากฏอยู่ โดยอยู่ห่างจากเจดีย์ราว 15 เส้น หรืออยู่คนละฟากทุ่งของบ้านขาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณแถบนี้น่าจะเป็นที่ตั้งของเมืองมาก่อน แต่ได้ร้างไปนาน ดังนั้น จึงได้ถือเอานิมิตนี้มาตั้งนามเมืองว่าขามแก่น แต่ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็นเมืองขอนแก่น จนกระทั่งทุกวันนี้

การปกครองแบ่งออกเป็น 26 อำเภอ 199 ตำบล 2331 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองขอนแก่น
อำเภอบ้านฝาง
อำเภอพระยืน
อำเภอหนองเรือ
อำเภอชุมแพ
อำเภอสีชมพู
อำเภอน้ำพอง
อำเภออุบลรัตน์
อำเภอกระนวน
อำเภอบ้านไผ่
อำเภอเปือยน้อย
อำเภอพล
อำเภอแวงใหญ่
อำเภอแวงน้อย
อำเภอหนองสองห้อง
อำเภอภูเวียง
อำเภอมัญจาคีรี
อำเภอชนบท
อำเภอเขาสวนกวาง
อำเภอภูผาม่าน
อำเภอซำสูง
อำเภอโคกโพธิ์ไชย
อำเภอหนองนาคำ
อำเภอบ้านแฮด
อำเภอโนนศิลา
อำเภอเวียงเก่า