จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดภาคใต้

จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดชุมพร

รับจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด

ลักษณะของบริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
อาจสรุปได้ว่า พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้

  1. จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
  2. ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
  3. มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
  4. จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด อาจดำเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  1. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เริ่มโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไปดำเนินการ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วดำเนินการจัดทำหนังสือชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น หรือเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งได้จองซื้อหุ้นทั้งหมดครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็จะเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท หลังจากนั้นผู้เริ่มจัดตั้งจะต้องส่งมอบกิจการและเอกสารทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อนำความไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไป
    ดูคำแนะนำขั้นตอนการจดทะเบียนตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
  2. การแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทเอกชนอาจแปรสภาพเป็น บริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    ดูคำแนะนำขั้นตอนการแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
“ให้เราเป็นตัวช่วยเสริมความมั่นคงของทุกธุรกิจ”

รับจดทะเบียนบริษัท ราคา 9,500 บาท


ราคารวม VAT 7% ค่าบริการและค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว

รับจดทะเบียนบริษัท ราคาพิเศษ 9,500 บาท *** (ราคารวม VAT7%) ไม่มีจ่ายเพิ่ม
หมายเหตุ
*** ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
หากทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท ติดต่อพนักงานเพื่อสอบถามรายละเอียด
*********************

สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้ 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 1 อัน
ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)
ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองบริษัท
รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท

*** สิทธิพิเศษมากมาย โปรดติดต่อ Line@ : @chonlatee เพื่อรับข้อเสนอ
หรือสอบถาม โทร : 083-622-5555

รับจดทะเบียนบริษัท 9,500 บาท
จดทะเบียนบริษัท

การควบบริษัท


บริษัทมหาชนจำกัดตั้งแต่บริษัทสองบริษัทขึ้นไป หรือบริษัทมหาชนจำกัดกับบริษัทเอกชน จะควบกันเป็นบริษัทมหาชนจำกัดก็ได้ โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทที่จะควบเข้ากันลงมติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยในกรณีที่เป็นการควบกับบริษัทเอกชนที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเอกชนนั้น จะต้องมีมติพิเศษให้ควบกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ขั้นตอนการจดทะเบียนควบบริษัทมหาชนกับบริษัทเอกชน


สถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียน

การยื่นขอจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของ บริษัทตั้งอยู่
  3. ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด


การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตามประเภทการจดทะเบียนต่างๆ ดังนี้

  1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่จดทะเบียนไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  2. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ
    เพื่อเพิ่มทุนก่อนจดทะเบียนเป็นบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  3. การจดทะเบียนบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
  4. การจดทะเบียนแปรสภาพบริษัทเอกชน
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  5. การจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
    แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น
    1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
  6. การจดทะเบียนลดทุนบริษัท 500 บาท
  7. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท นอกจากกรณีเพิ่มทุนตาม 2. 500 บาท
  8. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท 500 บาท
  9. การจดทะเบียนตั้งกรรมการใหม่ คนละ 500 บาท
  10. การจดทะเบียนควบบริษัท 10,000 บาท
  11. การจดทะเบียนเลิกบริษัท 500 บาท
  12. การจดทะเบียนเรื่องอื่นๆเรื่องละ 500 บาท
  13. การออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 200 บาท
  14. การขอสำเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคำรับรอง หน้าละ 50 บาท ถ้าเป็นการขอสำเนาหรือ ขอถ่ายเอกสาร พร้อมทั้งคำรับรองของบริษัทนอกเขตจังหวัดอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้น ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
  15. การรับรองข้อความในใบทะเบียน เรื่องละ 40 บาท

หน้าที่ของบริษัทมหาชนจำกัด


  1. บริษัทต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น วันประชุมสามัญประจำปีต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุม
  2. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปี สำเนางบการเงิน สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับ อนุมัติงบการเงิน การจัดสรรกำไร และการแบ่งเงินปันผลไปยังนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินนั้นและต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 วัน
  3. บริษัทต้องจัดทำป้ายชื่อไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา
  4. บริษัทต้องแสดงชื่อ ที่ตั้งสำนักงาน และเลขทะเบียนไว้ในจดหมายประกาศใบแจ้งความ ใบส่งของและใบเสร็จรับเงิน
  5. บริษัทต้องจัดทำใบหุ้นมอบแก่ผู้ถือหุ้นภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็น บริษัทมหาชนจำกัด หรือนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าหุ้นครบและได้จดทะเบียนเพิ่มทุนแล้ว
  6. บริษัทต้องจัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น ทะเบียนกรรมการ รายงาน การประชุมคณะกรรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เก็บไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่หรือเก็บไว้ที่บุคคลอื่นที่ได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบแล้ว
  7. บริษัทต้องจัดทำและเก็บรักษา บัญชี งบดุล บัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบ และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  8. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปีของคณะกรรมการ งบดุล บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบแล้ว ให้ผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี
  9. บริษัทต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับเอกสารดังต่อไปนี้
    1. หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
    2. หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
    3. การจ่ายเงินปันผล
    4. งบดุลที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ
    5. การเพิ่มทุนและลดทุน ภายหลังได้รับจดทะเบียนแล้ว
ติดต่อจดทะเบียนบริษัท

เราให้มากกว่าแค่ จดทะเบียนบริษัท


ด้วยความชำนาญ และประสบการณ์ ในงานด้านจดทะเบียนธุรกิจ กว่า 10 ปี มีลูกค้าไว้ใจให้เราดำเนินการจดทะเบียนบริษัท กว่า 1,000 ราย/ปี  ลูกค้าที่จดทะเบียนบริษัทกับเรา จะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเราจะพยายามรักษาสิทธิ์ต่างๆ ที่ลูกค้าพึงได้รับ เมื่อดำเนินการจดทะเบียน เพราะเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจในระยะยาวให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน ซึ่งคำแนะนำของเราล้วนเป็นเป็นประโยชน์ และช่วยเรื่องความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ

  • การจัดสรรผู้ถือหุ้นในบริษัท
  • อำนาจของกรรมการ
  • วัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมธุรกิจในระยะยาว
  • การตลาดและสื่อประชาสัมพันธ์
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่เราให้คำแนะนำลูกค้าของเรา
สอบถามรายละเอียดหรือปรึกษาก่อนจดทะเบียนบริษัท
Line@ : @chonlatee (คลิ๊กเพื่อคุยไลน์)
Tel : 083-622-5555 (คลิ๊กเพื่อโทร)
รับจดทะเบียนบริษัท

ชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้

ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี “อาสาจาม” ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี

และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 – 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา

เดิมชาวจามนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พ.ศ. 1400 นับถือศาสนาพุทธมหายาน และเมื่อค้าขายกับอาหรับก็นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ชาวจามที่มาอยู่เมืองชุมพร ต่อมานับถือ ศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม ประเพณี เหมือนกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 -600 ปี ที่ชาวจาม เข้าปกครองเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้จนแทบจะไม่เหลือวัฒนธรรมเดิมเลย เช่น ข้าวต้มใบพ้อ ที่ใช้ในงานมงคล เช่นเดียวกับชาวมุสลิม บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ก็สูญหายไม่ได้ใช้ในงานมงคลแล้ว

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพุทธรักษา (Canna indica)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemosa)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก
  • อักษรย่อ: ชพ

ประวัติศาสตร์

ประวัติเมืองชุมพร 
คำว่า ชุมพร มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น ชุมพร อีกประการหนึ่ง ในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบ เป็นการบำรุงขวัญทหารในสถานที่ชุมนุม เพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพรหรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมนุมพร” เช่นเดียวกัน

แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของ ตราประจำจังหวัดชุมพร

สมัยกรุงสุโขทัย 
เมืองชุมพรเป็นเมืองมีเจ้าเมืองปกครองมายาวนาน ในสมัยสุโขทัยนั้น เป็นเมืองขึ้นต่ออาณาจักรนครศรีธรรมราช ในฐานะเมืองอาณานิคม และเป็นเมืองหน้าด่าน ฝ่ายเหนือ หรือเมืองปีมะแม ถือตราแพะ เป็น 1 ในเมือง 12 เมือง หรือเรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร ของอาณาจักรนครศรีธรรมราช

สมัยกรุงศรีอยุธยา 
เมืองชุมพรในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้แผ่ขยายอาณานิคมลงทางใต้ ชาวจาม มาอยู่ที่เมืองชุมพร เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถ การค้า การเดินเรือ และการรบ จะเห็นได้จากทหาร อาสาจาม เป็นทหารชั้นดี ที่รับใช้ราชสำนักตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา มีความสามารถการรบ และการเดินเรือ อย่างเชี่ยวชาญ ตั้งแต่นั้นจนทำให้เมืองชุมพร ต้องขึ้นต่ออาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองอาณานิคม และเป็นเมืองหน้าด่าน ฝ่ายใต้ และเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญ ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมืองชุมพรจึงมีบทบาทเป็นเมืองหน้าด่าน มาแต่โบราณในอาณาจักรนครศรีธรรมราช และอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ทำให้ไม่มีการก่อสร้างวัตถุถาวรได้ ดังนั้นชาวชุมพรจึงเป็นลูกหลานนักรบที่แท้จริง และควรให้สมญานามบรรพบุรุษว่า “วีรบุรุษนักรบแห่งคอคอดกระ ดินแดนสองฝั่งทะเล” จากการทำศึกสงครามอย่างต่อเนื่องในแต่ละยุคแต่ละสมัย

สมัยกรุงธนบุรี 
เมืองชุมพรในสมัยกรุงธนบุรีไม่ค่อยมีบทบาทมากนักเพราะอยู่ในภาวะสงครามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้งรัชกาล และสืบเนื่องจาก พระชุมพร (พวย) นำกำลังกองทัพบก กองทัพเรือ เมืองชุมพร กำลังพลประมาณ 800 คน ได้สูญเสียจากการรบในช่วงกรุงแตกที่ ค่ายบางกุ้ง จากการส่งกำลังเข้ารักษาพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2305-2308 และเข้าร่วมรบเพื่อตีเมืองนครศรีธรรมราช จึงทำให้เกิดการล้าของชาวเมืองชุมพร

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 
ตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมืองชุมพรเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญ จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ชาวจามยังมีบทบาทในดินแดนแทบนี้ ต่อมา รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็น มณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด และเมื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สามารถเดินเรือได้เอง ชาวจามก็หมดบทบาทลงในเวลาต่อมา

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 70 ตำบล 674 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองชุมพร
อำเภอท่าแซะ
อำเภอปะทิว
อำเภอหลังสวน
อำเภอละแม
อำเภอพะโต๊ะ
อำเภอสวี
อำเภอทุ่งตะโก