จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดภาคเหนือ

จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดลำปาง

รับจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด

ลักษณะของบริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
อาจสรุปได้ว่า พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้

  1. จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
  2. ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
  3. มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
  4. จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด อาจดำเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  1. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เริ่มโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไปดำเนินการ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วดำเนินการจัดทำหนังสือชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น หรือเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งได้จองซื้อหุ้นทั้งหมดครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็จะเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท หลังจากนั้นผู้เริ่มจัดตั้งจะต้องส่งมอบกิจการและเอกสารทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อนำความไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไป
    ดูคำแนะนำขั้นตอนการจดทะเบียนตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
  2. การแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทเอกชนอาจแปรสภาพเป็น บริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    ดูคำแนะนำขั้นตอนการแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
“ให้เราเป็นตัวช่วยเสริมความมั่นคงของทุกธุรกิจ”

รับจดทะเบียนบริษัท ราคา 9,500 บาท


ราคารวม VAT 7% ค่าบริการและค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว

รับจดทะเบียนบริษัท ราคาพิเศษ 9,500 บาท *** (ราคารวม VAT7%) ไม่มีจ่ายเพิ่ม
หมายเหตุ
*** ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
หากทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท ติดต่อพนักงานเพื่อสอบถามรายละเอียด
*********************

สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้ 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 1 อัน
ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)
ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองบริษัท
รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท

*** สิทธิพิเศษมากมาย โปรดติดต่อ Line@ : @chonlatee เพื่อรับข้อเสนอ
หรือสอบถาม โทร : 083-622-5555

รับจดทะเบียนบริษัท 9,500 บาท
จดทะเบียนบริษัท

การควบบริษัท


บริษัทมหาชนจำกัดตั้งแต่บริษัทสองบริษัทขึ้นไป หรือบริษัทมหาชนจำกัดกับบริษัทเอกชน จะควบกันเป็นบริษัทมหาชนจำกัดก็ได้ โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทที่จะควบเข้ากันลงมติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยในกรณีที่เป็นการควบกับบริษัทเอกชนที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเอกชนนั้น จะต้องมีมติพิเศษให้ควบกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ขั้นตอนการจดทะเบียนควบบริษัทมหาชนกับบริษัทเอกชน


สถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียน

การยื่นขอจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของ บริษัทตั้งอยู่
  3. ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด


การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตามประเภทการจดทะเบียนต่างๆ ดังนี้

  1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่จดทะเบียนไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  2. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ
    เพื่อเพิ่มทุนก่อนจดทะเบียนเป็นบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  3. การจดทะเบียนบริษัท
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
  4. การจดทะเบียนแปรสภาพบริษัทเอกชน
    ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
    เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
  5. การจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
    แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น
    1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
  6. การจดทะเบียนลดทุนบริษัท 500 บาท
  7. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท นอกจากกรณีเพิ่มทุนตาม 2. 500 บาท
  8. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท 500 บาท
  9. การจดทะเบียนตั้งกรรมการใหม่ คนละ 500 บาท
  10. การจดทะเบียนควบบริษัท 10,000 บาท
  11. การจดทะเบียนเลิกบริษัท 500 บาท
  12. การจดทะเบียนเรื่องอื่นๆเรื่องละ 500 บาท
  13. การออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 200 บาท
  14. การขอสำเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคำรับรอง หน้าละ 50 บาท ถ้าเป็นการขอสำเนาหรือ ขอถ่ายเอกสาร พร้อมทั้งคำรับรองของบริษัทนอกเขตจังหวัดอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้น ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
  15. การรับรองข้อความในใบทะเบียน เรื่องละ 40 บาท

หน้าที่ของบริษัทมหาชนจำกัด


  1. บริษัทต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น วันประชุมสามัญประจำปีต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุม
  2. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปี สำเนางบการเงิน สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับ อนุมัติงบการเงิน การจัดสรรกำไร และการแบ่งเงินปันผลไปยังนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินนั้นและต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 วัน
  3. บริษัทต้องจัดทำป้ายชื่อไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา
  4. บริษัทต้องแสดงชื่อ ที่ตั้งสำนักงาน และเลขทะเบียนไว้ในจดหมายประกาศใบแจ้งความ ใบส่งของและใบเสร็จรับเงิน
  5. บริษัทต้องจัดทำใบหุ้นมอบแก่ผู้ถือหุ้นภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็น บริษัทมหาชนจำกัด หรือนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าหุ้นครบและได้จดทะเบียนเพิ่มทุนแล้ว
  6. บริษัทต้องจัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น ทะเบียนกรรมการ รายงาน การประชุมคณะกรรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เก็บไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่หรือเก็บไว้ที่บุคคลอื่นที่ได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบแล้ว
  7. บริษัทต้องจัดทำและเก็บรักษา บัญชี งบดุล บัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบ และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  8. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปีของคณะกรรมการ งบดุล บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบแล้ว ให้ผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี
  9. บริษัทต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับเอกสารดังต่อไปนี้
    1. หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
    2. หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
    3. การจ่ายเงินปันผล
    4. งบดุลที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ
    5. การเพิ่มทุนและลดทุน ภายหลังได้รับจดทะเบียนแล้ว
ติดต่อจดทะเบียนบริษัท

เราให้มากกว่าแค่ จดทะเบียนบริษัท


ด้วยความชำนาญ และประสบการณ์ ในงานด้านจดทะเบียนธุรกิจ กว่า 10 ปี มีลูกค้าไว้ใจให้เราดำเนินการจดทะเบียนบริษัท กว่า 1,000 ราย/ปี  ลูกค้าที่จดทะเบียนบริษัทกับเรา จะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเราจะพยายามรักษาสิทธิ์ต่างๆ ที่ลูกค้าพึงได้รับ เมื่อดำเนินการจดทะเบียน เพราะเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจในระยะยาวให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน ซึ่งคำแนะนำของเราล้วนเป็นเป็นประโยชน์ และช่วยเรื่องความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ

  • การจัดสรรผู้ถือหุ้นในบริษัท
  • อำนาจของกรรมการ
  • วัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมธุรกิจในระยะยาว
  • การตลาดและสื่อประชาสัมพันธ์
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่เราให้คำแนะนำลูกค้าของเรา
สอบถามรายละเอียดหรือปรึกษาก่อนจดทะเบียนบริษัท
Line@ : @chonlatee (คลิ๊กเพื่อคุยไลน์)
Tel : 083-622-5555 (คลิ๊กเพื่อโทร)
รับจดทะเบียนบริษัท

ลำปาง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตั้งแต่ เขลางค์นคร, เวียงละกอน, นครลำปาง ฯลฯ ในภายหลังเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า ที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของลำปาง

  • คำขวัญประจำจังหวัด : ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก
  • ตราประจำจังหวัด : ไก่สีขาวยืนอยู่ในซุ้มประตูพระธาตุลำปางหลวง
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นกระเชาหรือในภาษาถิ่นว่า ขจาว (Holoptelea integrifolia)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกพุทธรักษาญี่ปุ่นหรือธรรมรักษา (Heliconia psittacorum)
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลารากกล้วยชนิด Acantopsis choirorhynchos

ประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ 
การตั้งถิ่นฐานของผู้คนลุ่มน้ำวังและลุ่มน้ำใกล้เคียงอย่างลุ่มน้ำงาว มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังที่เห็นได้จากการพบหลักฐานเป็นกระดูกของมนุษย์โฮโมอีเรกตัสที่มีอายุราว 500,000 ปี ซึ่งถูกเรียกกันว่า “มนุษย์เกาะคา” ที่อยู่ร่วมสมัยกับมนุษย์ปักกิ่งและมนุษย์ชวา ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำวังตอนกลาง (ปัจจุบันคือ หาดปู่ด้าย ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา ลำปาง) มีการค้นพบกระดูกเมื่อปี พ.ศ. 2541.

ชุมชนบริเวณประตูผา อยู่ขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองปัจจุบัน(บริเวณรอยต่อของอำเภองาวและอำเภอแม่เมาะในปัจจุบัน) เป็น แหล่งโบราณคดีที่ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประกอบพิธีศพมีอายุกว่า 3,000 ปี ทั้งยังมีภาพเขียนสีจำนวนมากถึง 1,872 ภาพ แบ่งภาพเขียนเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผาเลียงผา, กลุ่มที่ 2 ผานกยูง, กลุ่มที่ 3 ผาวัว, กลุ่มที่ 4 ผาเต้นระบำ, กลุ่มที่ 5 ผาหินตั้ง, กลุ่มที่ 6 ผานางกางแขน และกลุ่มที่ 7 ผาล่าสัตว์และผากระจง. [11]

ยุคประวัติศาสตร์ 
ที่กล่าวมานั้นคือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ยังไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในภูมิภาคนี้เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์จากอารยธรรมทางทะเล ที่เข้ามาจากละโว้ นั่นคือ การก่อตั้งอาณาจักรหริภุญชัย ในพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นยุคที่ทำให้ชุมชนในลุ่มน้ำปิงและวังกลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ขึ้น

หากแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ต่อจากนี้แล้ว อาจแบ่งได้เป็นช่วงใหญ่ 6 ช่วงตามอิทธิพลทางการเมืองการปกครอง (ในที่นี้จะยุติถึงช่วงปี พ.ศ. 2500) ได้แก่

ยุคที่หนึ่ง : หริภุญชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13) 
กำเนิดเมืองบนลุ่มน้ำวัง 
การกำเนิดรัฐบริเวณลุ่มน้ำปิงในนามหริภุญไชยนั้น จำเป็นต้องสร้างเครือข่าย อันได้แก่ เวียงเถาะ, เวียงมะโน ฯลฯ เมืองที่ถือกำเนิดในลุ่มน้ำวัง ก็ถือเป็นหนึ่งในเครือข่ายนั้นเช่นกัน แต่มิใช่เกิดขึ้น โดยกลุ่มคนจากหริภุญไชยเท่านั้น ในตำนาน  ที่มีการเล่าถึง “พรานเขลางค์” และ “สุพรหมฤๅษี”ที่อาศัยอยู่บริเวณ “ดอยเขางาม” นับเป็นตัวแทนกลุ่มชนดั้งเดิมในระยะเวลานั้น ซึ่งมีทั้งชาวลัวะและกะเหรี่ยง [13] ในโบราณสถานหลายแห่งมีการกล่าวอ้างถึง “พระนางจามเทวี” เช่น วิหารจามเทวี วัดปงยางคง, ตำหนักเย็น วัดพระธาตุจอมปิง ฯลฯ ซึ่งเป็นสำนึกการเชื่อมโยง ความยาวนาน แต่ก็ไม่ได้การยืนยันทางวิชาการอย่างหนักแน่นพอ

การตั้งถิ่นฐาน 
มีการกล่าวถึง 3 พื้นที่ อันได้แก่

บริเวณศูนย์กลางที่สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณวัดพระแก้วดอนเต้า อำเภอเมืองลำปาง ริมแม่น้ำวัง ที่สุพรหมฤๅษี และพรานเขลางค์ สร้างให้เจ้าอนันตยศ โอรสของพระนางจามเทวี ปกครองดูแลต่อไป  เมืองตั้งอยู่บนที่ดอน ริมแม่น้ำวัง มีองค์ประกอบของเมือง ค่อนข้างสมบูรณ์ เมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ศักดิ์ รัตนชัย เคยเสนอว่า เมืองนี้มีลักษณะสัณฐานคล้ายเมืองหอยสังข์
บริเวณตอนเหนือของลุ่มน้ำวัง สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณวัดกู่คำ วัดกู่ขาว วัดปันเจิง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่แรกไปไม่ไกล มีทางเดินเชื่อมจากประตูตาล ยังปรากฏร่องรอยมาจนปัจจุบัน บริเวณดังกล่าวมีการขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดีคือ พระพิมพ์ดินเผา และเครื่องปั้นดินเผาทั้งนี้ยังเชื่อมโยงกับแหล่งผลิต คือ “แหล่งทุ่งเตาไห” ที่บ้านทราย ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของวัดพระเจดีย์ซาวหลังไปประมาณ 2 กิโลเมตร
บริเวณอำเภอเกาะคา สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวงอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของพื้นที่วัดพระแก้วดอนเต้าไปกว่า 10 กิโลเมตร ล่องไปตามแม่น้ำวัง ปรากฏหลักฐานคือ เครื่องปั้นดินเผา
ชื่อบ้านนามเมือง
ศาสตราจารย์ แสง มณวิทูร ให้คำอธิบาย “เขลางค์นคร” ว่ามาจากภาษามอญ ว่า ฮฺลาง หรือ ขฺลาง แปลว่า ขัน หรือโอ และตีความว่า พรานเขลางค์ ก็คือ พรานที่อาศัยอยู่ที่ ดอยเขลางค์ ก็คือ ดอยโอคว่ำนั่นเอง ศาสตราจารย์ สุรพล ดำริห์กุล ให้คำอธิบายว่า เมืองลำปางก็คือ บริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวงนั่นเอง ชื่อของ พระธาตุลำปางหลวง ปรากฏในตำนานเรียก “พระมหาธาตุเจ้าลำปาง” หรือ “พระธาตุหลวงลำปาง” [18] เมืองลำปางจึงน่าจะเป็น “เมืองลำพาง” หรือ “อาลัมพางนคร” ที่พระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของ พระนางจามเทวี พระราชมารดา [19] ยังมีอีกข้อสันนิษฐานจาก อ.สักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย ว่า เวียงอาลัมพาง น่าจะอยู่บริเวณ กลุ่มวัดกู่คำ วัดกู่ขาว [20]

ยุคที่ 2 : ล้านนา (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-พุทธศตวรรษที่ 23) 
การตั้งถิ่นฐาน 
หลังจากพญามังราย ยึดเมืองเขลางค์นครได้แล้ว จึงได้ให้ขุนไชยเสนา รั้งเมืองและออกมาสร้างเมืองใหม่ในปี พ.ศ. 1845 สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณวัดเชียงภูมิ (ปัจจุบัน คือ วัดปงสนุก) มีการก่อกำแพงเมืองเพิ่มเติม รวมถึงคูเมือง และประตูเมืองต่าง ๆ ได้แก่ “ประตูปลายนา” “ประตูนาสร้อย” “ประตูเชียงใหม่” “ประตูป่อง”  อย่างไรก็ตาม เมืองใหม่ที่สร้างมากับเองเก่าเขลางค์นครนั้น น่าจะยังมีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง แต่ลดระดับความสำคัญลงไปจากเดิมเท่านั้น

สงครามล้านนากับอยุธยา 
เวียงลคอรได้เป็นสมรภูมิรบระหว่าง ล้านนา กับ กรุงศรีอยุธยา หลายคราว ได้แก่

พระบรมราชาธิราชที่ 4 ยกทัพมาตี แต่ไม่สำเร็จ พ.ศ. 1929
ล้านนาเปิดศึกรุกกวาดต้อนชาวสุโขทัย เชลียง กำแพงเพชร จึงถูกตอบโต้ด้วยการยกทัพมายึดเมืองลคอรได้สำเร็จ พ.ศ. 2053-2058
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034-2072) กษัตริย์อยุธยายกทัพมาตีเวียงลคอรแตก แล้วกวาดต้อนผู้คนกลับไป พ.ศ. 2058
เมืองยุทธศาสตร์ตอนใต้
การเกิดขึ้นของอาณาจักรล้านนานั้น ถือว่าเป็นรัฐที่เติบโตอยู่ท่ามกลางมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และการทางหาร ทางเหนือได้แก่ พม่า และทางใต้ คือ สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อสุโขทัยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ทำให้ล้านนาถูกคุกคามจากทางใต้มากขึ้น นั่นหมายถึงว่า ในขณะนั้นตำแหน่งของหัวเมืองทางใต้มีความหมายและความสำคัญอย่างยิ่ง “เวียงลคอร” จึงมีฐานะเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่จะต้านทานกองทัพที่มารุกรานเสมอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทำให้ “เวียงลคอร” มีอำนาจต่อรองพอที่จะได้รับอานิสงส์ความมั่งคั่งด้วย [24]

ประดิษฐานพระแก้วมรกต ณ วัดพระแก้วดอนเต้า[แก้]
ปรากฏเหตุการณ์อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” จาก เชียงราย มา เชียงใหม่ ที่กล่าวกันว่า ช้างที่อัญเชิญไม่ยอมไปเชียงใหม่ กลับดึงดันที่จะเข้าเวียงลคอร จึงทำให้ “พระแก้วมรกต” พระพุทธรูปสำคัญ ประดิษฐาน ณ วัดพระแก้วตอนเต้า เป็นเวลาถึง 32 ปี ก่อนจะถูกอัญเชิญไปที่ วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ ในเวลาต่อมา [25]

ชื่อบ้านนามเมือง 
ชื่อเมือง”เขลางค์นคร” เริ่มถูกตัดให้สั้นเหลือเพียง “เมืองนคร” ในพ.ศ. 2019 จากหลักฐานศิลาจารึก หลักที่ 65 ที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ เมืองนคร ตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกราช และคำว่า “นคร” ได้เขียนกลายเป็น “ลคอร” สำเนียงชาวพื้นถิ่นออกเป็น “ละกอน” [26]

ยุคที่ 3 : ประเทศราชของพม่า (พุทธศตวรรษที่ 23-24)
ด้วยปัญหาภายในล้านนนาที่ไม่มีความเป็นเอกภาพแท้จริง ในที่สุด ก็สลายลงใน พ.ศ. 2101 ซึ่งทัพของ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าใช้เวลาเพียง 3 วัน ก็สามารถยึดเชียงใหม่อย่างง่ายดาย ผู้ปกครองเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเวียงลคอร จึงอยู่ภายใต้การควบคุมของพม่า เรื่อยมาเป็นเวลากว่า 200 ปี ที่อยู่ใต้อิทธิพลความคิด และการอุปถัมภ์จากราชสำนักพม่า หนานทิพย์ช้าง ต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตน ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ปรากฏวีรกรรมของหนานทิพย์ช้างที่สามารกำจัด ท้าวมหายศ เจ้าเมืองลำพูนที่เข้ามาสร้างความเดือดร้อนได้สำเร็จ ดังปรากฏเรื่องเล่า ณ บริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวง หนานทิพย์ช้างได้รับการยอมรับจากชาวเมืองให้เป็นเจ้าเมือง ร.ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล กล่าวว่า หนานทิพย์ช้าง ได้รับการแต่งตั้ง จากกษัตริย์พม่า ให้เป็น “พระยาไชยสงคราม” ถือเป็นความชอบธรรมประการหนึ่งในสมัยนั้น ที่ยังอยู่ใต้อิทธิพลของพม่า อย่างไรก็ตามหนานทิพย์ช้าง ยังถูกเรียกในนามอื่น ๆ ได้แก่ พระยาสุลวฤๅไชย  พ่อเจ้าทิพย์ช้าง

ยุคที่ 4 : ประเทศราชของสยาม (พุทธศตวรรษที่ 24- ทศวรรษ 2430) 
นโยบายกวาดต้อนผู้คน 
กำลังคนไพร่พล เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงอยู่ของเมือง ๆ หนึ่ง ครั้นล้านนาตกอยู่ในอำนาจของพม่า โครงสร้างของไพร่พลดังกล่าวอ่อนแอลง จนไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในสังกัดได้ดังเดิม เมื่อ “เจ้ากาวิละ” อาศัยความร่วมมือจากทางกรุงธนบุรี-กรุงเทพฯ จนกลับมาตั้งศูนย์อำนาจการเมืองทางเหนือได้สำเร็จ จึงได้ใช้ “นโยบายเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” [31] จากหัวเมืองต่าง ๆ ทางเหนือ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองสาด เมืองยอง ฯลฯ

การตั้งถิ่นฐาน 
อ.สักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย อ้างถึงตำนานเจ้าเจ็ดตน ฉบับสุวรรณหอคำมงคล ใน ประวัตินครลำปาง  ว่า “…สมัยเจ้าคำโสม ผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 2 …ได้สร้างวิหารหลวงกลางเวียง ก่อองค์เจดีย์ และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ สร้างพระอุโบสถ สร้างพระวิหารวัดหมื่นกาด วิหารวัดน้ำล้อม วิหารวัดป่าดั๊วะในฝั่งเมืองใหม่… ต่อมาในสมัยเจ้าหอคำดวงทิพย์เป็นพระยานคร เมื่อ พ.ศ. 2337 ได้สร้างกำแพงและขุดคูเมือง พร้อมทั้งสร้างหอคำขึ้นราว พ.ศ. 2351 …มีประตูเมืองชื่อต่าง ๆ คือ ประตูหัวเวียง ประตูศรีเกิด ประตูชัย ประตูศรีชุม ประตูสวนดอก และประตูเชียงราย…” ทางฝั่งเหนือ ของแม่น้ำวังนั้นประกอบด้วยชุมชนจากเชียงแสนดังที่กล่าวมาแล้ว ได้แก่ บ้านหัวข่วง บ้านสุชาดาราม บ้านช่างแต้ม บ้านปงสนุก นอกนั้นยังมีบ้านพะเยา ที่อยู่บริเวณเดียวกับบ้านปงสนุก ภายหลังได้ย้ายกลับไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่เมืองพะเยาอีกครั้ง

เศรษฐกิจ 
ในส่วนของการค้าขายระยะไกล จะมีพ่อค้าเร่ พ่อค้าวัวต่างที่เชื่อมโยงระหว่าง ยูนนาน พม่า รัฐฉาน หลวงพระบาง เชียงตุง ซึ่งเป็นพ่อค้าไทใหญ่ พ่อค้าฮ่อ ผ่านมา โดยจะเดินทางมาพักบริเวณศาลาวังทาน (บริเวณวัดป่ารวก และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดลำปางในปัจจุบัน) บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง [34]

ชื่อบ้านนามเมือง 
มีการกล่าวถึงขื่อ นครลำปาง ในหลายแห่ง ได้แก่ ตำนานสิบห้าราชวงศ์[35] ที่กล่าวถึง พระยาละครลำปาง(ในพ.ศ. 2332) พงศาวดารนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย ไว้ว่า พ.ศ. 2357 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 2 ได้มีการยกเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย เป็นเมืองประเทศราช ทั้งนี้ปรากฏชื่อ “ศรีนครไชย” จากตำนานที่เขียนขึ้นในยุคนี้ เพื่อเป็นการถวายเกียรติสดุดีแด่สกุลเจ้าเจ็ดตน [36]

ยุคที่ 5 : ภายใต้รัฐสยามและระบบทุนนิยม (ทศวรรษ 2430-2459) 
การเติบโตของระบบทุนนิยม อิทธิพลชาวตะวันตก และสยามประเทศ
ในยุคสมัยนี้ เริ่มต้นด้วยการนับตั้งแต่การลงนาม สนธิสัญญาเชียงใหม่  อันเนื่องมาจากความขัดแย้งจากกิจการป่าไม้ และความวุ่นวายในหัวเมืองชายแดน ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยาม และรัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ขณะที่อังกฤษก็สามารถตั้ง สถานกงสุลประจำนครเชียงใหม่ และนครลำปาง เพื่อดูแลผลประโยชน์ของตนและกลุ่มชนในบังคับอังกฤษ ปัญหาการคุกคามจากอาณานิคมตะวันตกดังกล่าว ทำให้รัฐบาลสยาม มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร เพื่อจะรวบอำนาจเข้าสูศูนย์กลางให้มากที่สุด ดังปรากฏการส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ มาควบคุมการบริหารราชการภายใน จึงอาจกล่าวได้ว่าในยุคนี้หัวเมืองทางเหนือ ได้รับการกดดันอย่างหนักหน่วง แน่นอนว่า กระแสอันเชี่ยวกรากของระบบทุนนิยมที่กำลังเริ่มต้นขึ้น ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบเจ้านายทางเหนือพังทลายลง

รัฐบาลสยามได้ปรับตัวครั้งใหญ่ โดยมีการปฏิรูปการปกครองเป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล เมืองนครลำปางขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพ ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เชียงใหม่ และต่อมาแยกออกไปเป็นมณฑลมหาราษฎร์ ในปี 2459 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแพร่

เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 10 ที่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง เป็นผู้บริจาค ผู้สร้างสิ่งสาธารณประโยชน์จำนวนมาก ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายที่สนับสนุนรัฐบาลสยามอย่างยิ่ง อันได้แก่ สร้างโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย โรงทหาร โรงพยาบาลทหาร ที่ทำการไปรษณีย์ หรือการอุทิศที่ดินเพื่อสร้างที่ทำการศาล เรือนจำกลางลำปาง เป็นต้น

เศรษฐกิจ 
ดังที่กล่าวมาแล้ว ในยุคนี้เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยมเข้าสู่นครลำปาง กลุ่มแรก ๆ ที่มีโอกาสสะสมทุนก็ได้แก่ กลุ่มทำไม้ ชาวไทใหญ่-พม่า ที่ร่วมกับชาวยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ ดังปรากฏการสร้างบ้านใหญ่โต บริเวณท่ามะโอ หรือการสร้างวัดแบบไทใหญ่-พม่า บริเวณย่านป่าขามเป็นจำนวนมาก อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ชาวจีน [40] ที่เดินทางมาจากส่วนกลางของสยามประเทศและศูนย์กลางการค้าทางน้ำ เช่น สวรรคโลก นครสวรรค์ มาประกอบอาชีพค้าขายทางน้ำ โดยเรือหางแมงป่อง ขึ้น-ล่อง ส่งสินค้าระหว่างนครลำปาง กับปากน้ำโพ และอาจไปจนถึงกรุงเทพฯ หรือบางคนสามารถสะสมทุนและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอากรเก็บภาษีในท้องถิ่น

การตั้งถิ่นฐาน 
เมืองในยุคนี้จะมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ละกลุ่มก็มีความเชื่อ และโลกทัศน์ที่ต่างกันในการอยู่อาศัย ใช้ชีวิต ได้แก่ ฝรั่งอังกฤษที่เข้ามาทำไม้ และชาวไทใหญ่-พม่า ตั้งถิ่นฐานบริเวณท่ามะโอ ที่ใกล้แม่น้ำวัง จนใช้บางแห่งเป็นที่ชักลากซุงขึ้นมา เช่นบริเวณด้านหน้าของวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม(ด้านสระน้ำ) ขณะที่ชาวจีน ชาวไทใหญ่-พม่า ก็เลือกทำเลบริเวณตลาดจีน(กาดกองต้า) ที่ใช้พื้นที่ต่ำใกล้น้ำให้เป็นประโยชน์ในการเป็นท่าเทียบเรือสินค้า โกดัง ที่อยู่อาศัย และห้างไปในตัว ย่านวัดไทใหญ่-พม่า บริเวณป่าขามและใกล้เคียง เป็นบริเวณที่แยกออกมาจากตัวเมือง ขณะเดียวกันก็มีบริเวณม่อนที่มีความสูงสอดคล้องกับคติการสร้างวัด คริสเตียนอเมริกันเพรสไบทีเรียน เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มิได้มีเป้าหมายอยู่ที่การค้าขาย แต่เน้นที่การเผยแพร่ศาสนา ให้การศึกษา และสังคมสงเคราะห์ มีถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านเกาะ ริมแม่น้ำวัง ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นที่ดินพระราชทาน ใกล้กับสถานกงสุลอังกฤษประจำนครลำปาง

ยุคที่ 6 : รถไฟและรัฐประชาชาติ-ประชาธิปไตย (พ.ศ. 2459-2500) 
การขยายตัวเนื่องมาจากรถไฟ 
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเงื่อนไขของการคมนาคม เช่นเดียวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศตะวันตก เมื่อเส้นทางรถไฟตัดผ่านเมืองใด เมืองนั้นก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างรวดเร็ว ในกรณีลำปาง จากเส้นทางน้ำสู่การค้าทางบกอย่างรถไฟที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย คุ้มค่า ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นการดึงคนเข้าเมือง โดยเฉพาะชาวจีน ที่เข้ามาเป็นจำนวนมาก พร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้งในแง่ของความรู้ การจัดการตลอดไปจนเครื่องจักรต่าง ๆ ล้วนเติบโตในช่วงนี้เอง

สงครามโลกครั้งที่ 2 
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ราวพ.ศ. 2485-2488) ญี่ปุ่นเข้ามาเพื่อเคลื่อนพลผ่านประเทศไทย และได้ตั้งกองบัญชาการที่ลำปาง เข้าทำการยึดอาคารสถานที่ในกิจการของชาวตะวันตก ทั้งชาวอังกฤษ อเมริกัน และชนชาติอื่น ๆ ต่างก็ทำการลี้ภัยออกไป ขณะที่ประเทศไทยสมัยนั้น เป็นคู่สงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร จึงถูกฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีเมือง ด้วยการทิ้งระเบิดในพื้นที่ต่าง ๆ หลายครอบครัวในตัวเมือง ได้ทำการย้ายไปอยู่นอกเมืองชั่วคราวเพื่อหลบภัยสงคราม บางร้านในเมืองก็พรางอาคารด้วยยอดมะพร้าว หรือเอาสีดำมาทาตัวตึก ทหารญี่ปุ่นได้ยึดอาคารสำคัญในเมืองโดยเฉพาะอาคารร้านค้าบริเวณกาดกองต้า ตลอดไปจนถึงการยึดเอาข่วงโปโลบริเวณสวนสาธารณะเขลางค์นครลำปาง ในปัจจุบัน และบริเวณโรงแรมทิพย์ช้าง ตั้งเป็นตึกบัญชาการกองพล 1 ญี่ปุ่น ขณะที่อาคารสถานที่ของกลุ่มชนคู่สงครามอย่าง อังกฤษ และอเมริกัน เช่น โรงพยาบาลแวนแซนวูร์ด โรงเรียนเคนเน็ตแมคเคนซี ต่างก็โดนยึดเป็นที่ตั้งกำลังพลทหารญี่ปุ่น [43] แม้แต่วัดน้ำล้อม ก็มีการเล่าว่า มีทหารรถถังของญี่ปุ่นมาขอพักที่วัด [44]

การตั้งถิ่นฐาน 
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า คนส่วนใหญ่ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นชาวจีน ซึ่งตั้งตัวอยู่บริเวณถนนประสานไมตรี ใกล้ย่านสถานีรถไฟ ย่านการค้าซึ่งเป็นส่วนขยายของเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งกลับขยับขยายไปบริเวณย่านตลาดในเมือง ได้แก่ ตลาดบริบูรณ์ปราการ ตลาดราชวงศ์ ซึ่งปรากฏการตั้งถิ่นฐานบน ถนนทิพย์ช้าง ถนนบุญวาทย์ ถนนรอบเวียง

เศรษฐกิจ 
ย่านสถานีรถไฟ กลายเป็นศูนย์กลางการขนส่ง และแหล่งการค้าสำคัญซึ่งมีกิจการที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ โรงสี โรงเลื่อย โกดังเก็บผลผลิตทางการเกษตร ทั้งยังเป็นเส้นทางผ่านไปยัง พะเยา เชียงราย ควบคู่ไปด้วยกันนั้น แหล่งบันเทิง ย่านกินเที่ยว ก็ตามมา ทั้งโรงฝิ่นบนถนนประสานไมตรี และข้างสถานีตำรวจสบตุ๋ยในปัจจุบัน หรือย่านเที่ยวบนถนนบุญวาทย์ ที่มีทั้งซ่อง โรงฝิ่น โรงภาพยนตร์ โรงแรม ร้านอาหาร

ชื่อบ้านนามเมือง 
จังหวัดลำปางเดิมชื่อ “เมืองนครลำปาง” จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ ศิลาจารึก เลขทะเบียน ลป.1 จารึกเจ้าหมื่นคำเพชรเมื่อ พ.ศ. 2019 และศิลาจารึกเลขทะเบียน ลป.2 จารึกเจ้าหาญสีทัต ได้จารึกชื่อเมืองนี้ว่า “ลคอร” ส่วนตำนานชินกาลมารีปกรณ์ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเมืองเชียงแสน ตลอดจนพงศาวดารของทางฝ่ายเหนือ ก็ล้วนแล้วแต่เรียกชื่อว่า เมืองนครลำปาง แม้แต่เอกสารทางราชการสมัยรัตนโกสินตอนต้น ก็เรียกเจ้าเมืองว่า พระยานครลำปาง นอกจากนี้จารึกประตูพระอุโบสถวัดบุญวาทย์วิหาร ก็ยังมีข้อความตอนหนึ่งจารึกว่า เมืองนครลำปาง แต่เมื่อมีการปฏิรูปบ้านเมืองจากมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ปรากฏว่า ชื่อของเมืองนครลำปาง ได้กลายมาเป็นจังหวัดลำปาง มาจนกระทั่งทุกวันนี้

ยุคประชาธิปไตย 
สัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญ ที่เป็นพานแว่นฟ้าซ้อนกันสองชั้นแล้วด้านบนเป็นสมุดไทยซึ่งหมายถึงรัฐธรรมนูญนั่นเอง สัญลักษณ์นี้ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของระบอบใหม่ ในจังหวัดลำปางได้ปรากฏสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญในที่ต่าง ๆ เช่น หน้าแหนบวัดปงหอศาล อำเภอแม่ทะ ระบุว่าสร้างเสร็จวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2475 (ในปฏิทินแบบเก่าปีใหม่เริ่ม เมษายน ดังนั้น มีนาคมจึงเป็นปลายปีแล้ว เมื่อปรับตามปฏิทินร่วมสมัยก็จะกลายเป็น 15 มีนาคม พ.ศ. 2476) หรือวัดอื่น ๆ ในแม่ทะ เช่น ชิ้นส่วนที่คาดว่าจะเป็นหน้าแหนบของวัดสบทะ ดาวเพดานวิหารวัดนากว้าว แต่ลักษณะของพานนี้เป็นพานชั้นเดียว(พานแว่นฟ้าจะเป็นพานสองชั้นซ้อนกัน) ก็อาจตีความได้ทั้งสองอย่างคือสื่อถึงรัฐธรรมนูญ หรือเป็นพานที่รองรับพับสาธรรมะทั่ว ๆ ไป แผงคอสองวิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก อำเภอเมืองลำปาง ที่ระบุว่าอยู่ในปี พ.ศ. 2482 เช่นเดียวกันกับเครื่องบนหลังคาของวิหารหลวงวัดปงสนุก(เหนือ) หลังเก่าที่ถูกรื้อไปแล้ว แต่ยังเก็บชิ้นส่วนนี้ไว้ที่พิพิธภัณฑ์ สันนิษฐานว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ส่วนทางใต้ของลำปางก็พบมีการใช้สัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญ บริเวณหน้าแหนบวิหารหลวง วัดล้อมแรด อำเภอเถิน

จังหวัดลำปางแบ่งการปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 100 ตำบล 855 หมู่บ้าน

เมืองลำปาง
แม่เมาะ
เกาะคา
เสริมงาม
งาว
แจ้ห่ม
วังเหนือ
เถิน
แม่พริก
แม่ทะ
สบปราบ
ห้างฉัตร
เมืองปาน